Page 122 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 122

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2565
            536 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      Vol. 20  No. 3  September-December  2022
                                                               ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2565


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของใบชะมวง




           ธนวัฒน์ ทองจีน , อัศวชัย ช่วยพรหม, สายัณห์ เรืองเขตร, ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง
                        *
           สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
            ผู้รับผิดชอบบทความ:  thanawat.t@dmsc.mail.go.th
           *












                                                บทคัดย่อ

                   ชะมวงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia cowa Roxb. ex Choisy วงศ์ Clusiaceae ใบอ่อนของชะมวงมีรสเปรี้ยว
              ช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ และใช้เป็นอาหาร จากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น พบว่าสารสกัด
              ด้วยเอทานอล (ethanol) จากใบชะมวงยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล สมุนไพรนี้ยังไม่มีข้อก�าหนดมาตรฐานในต�ารา
              มาตรฐานยาสมุนไพรไทย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาคุณสมบัติ
              ทางกายภาพและทางเคมีของใบชะมวง โดยรวบรวมตัวอย่างใบชะมวง จ�านวน 17 ตัวอย่าง ที่เก็บจากเกือบทุกภาค
              ของประเทศไทย น�ามาศึกษาโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างจริง 1 ตัวอย่างที่ได้รับมาจากห้องปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์พืช
              จากการตรวจสอบเบื้องต้นทางเคมีด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พบว่าให้ผลบวกกับกลุ่มฟลาโวนอยด์ และกลุ่มฟีนอลิก
              เมื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบาง   พบว่าให้ผลบวกกับกลุ่มฟลาโวนอยด์ และตรวจพบสาร
              โอเรียนทิน  จ�านวน 13 ตัวอย่าง เมื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของใบชะมวงแห้ง ได้แก่ ปริมาณ
              ความชื้นด้วยวิธีกราวิเมทริก ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณสิ่งสกัดด้วยน�้า ปริมาณสิ่งสกัดด้วย
              เอทานอล 95%  และปริมาณรวมของสารกลุ่มฟีนอลิก ค�านวณในรูปกรดแกลลิก ในใบชะมวงแห้ง พบว่ามีค่าเฉลี่ย ±
              ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับร้อยละ 6.98 ± 0.81, 5.88 ± 1.26, 0.03 ± 0.03, 25.02 ± 5.85, 22.09 ± 6.43 และ 2.36
              ± 1.39 โดยน�้าหนัก ตามล�าดับ ผลการศึกษานี้น�าไปสู่การจัดท�ามอโนกราฟ ใบชะมวง และสามารถใช้เป็นแนวทางใน
              การก�าหนดมาตรฐานของใบชะมวงแห้งในต�ารามาตรฐานยาสมุนไพร เพื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิงของประเทศต่อไป


                   คำ�สำ�คัญ:  ใบชะมวง, คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี










           Received date 24/01/22; Revised date 19/04/22; Accepted date 29/11/22


                                                   536
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127