Page 186 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565
P. 186
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
Vol. 20 No. 2 May-August 2022
ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565
384 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565
บทปริทัศน์
การดำารงอยู่ของหมอพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย
ฤทธิชัย พิมปา*, ชนาภัทร ทิพย์กรรภิรมย์, ชิน คำาเครื่อง, นัทธ์ชนัน ไทยบุญรอด, พัชนิภา จำาเริญจิต
สกุล, ศิวาภรณ์ จันเทศ
สำ�นักวิช�ก�รแพทย์บูรณ�ก�ร มห�วิทย�ลัยแม่ฟ้�หลวง จังหวัดเชียงร�ย 57100
*ผู้รับผิดชอบบทความ: ritichai.pim@mfu.ac.th
บทคัดย่อ
การแพทย์พื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาด้านการดูแลสุขภาพซึ่งแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงของ
สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ทำาให้การแพทย์พื้นบ้านได้รับผลกระทบตามไปด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาการดำารงอยู่ของหมอพื้นบ้าน อำาเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากหมอพื้นบ้าน 3 คน
ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการประกอบวิชาชีพการแพทย์พื้นบ้าน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความ
คาดหวังในผลลัพธ์ และอุปสรรคและการปรับตัว ผลวิจัยพบว่า หมอพื้นบ้านทั้งหมดมีประสบการณ์รักษามากกว่า 10
ปี เชี่ยวชาญหลายกลุ่มโรค โดยเฉพาะกล้ามเนื้อและกระดูก และยังมีบทบาทการเป็นครูถ่ายทอดองค์ความรู้อีกด้วย การ
รับรู้ความสามารถของตนเอง พบว่า เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ประสบความสำาเร็จ และความคาดหวังในผลลัพธ์
พบว่า เกี่ยวข้องกับความภาคภูมิใจที่ผู้ป่วยมีสุขภาพดี ส่วนการลดลงของผู้ป่วย ผลกระทบจากเศรษฐกิจ สมุนไพรที่
หายากขึ้นเนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง และขาดศิษย์สืบทอดองค์ความรู้ ล้วนเป็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำารงอยู่ของ
หมอพื้นบ้าน หมอทุกคนพยายามปรับตัวโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสื่อสารกับผู้ป่วยและการขนส่ง
ซื้อขายยาสมุนไพร ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ และส่งเสริมความ
รู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีแก่หมอพื้นบ้าน เพื่อให้บทบาทของหมอพื้นบ้านยังคงอยู่ในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป
ตลอดเวลา
คำ�สำ�คัญ: การดำารงอยู่, หมอพื้นบ้านในจังหวัดเชียงราย
Received date 23/03/22; Revised date 06/04/22; Accepted date 03/08/22
384