Page 187 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
P. 187

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                        ปีที่ 20  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน  2565      Vol. 20  No. 1  January-April  2022




                                                                                รายงานเบื้องต้น




              ผลของยาธรณีสัณฑะฆาต ต่อระดับ ทูเมอร์เนคโครซิส แฟคเตอร์ อัลฟา และ
              อินเตอร์ลูคิน-6 ในเลือดของกลุ่มประชากรที่ได้รับสัมผัสฝุ่นละเอียด PM 2.5 :

              การศึกษานำาร่อง



              พัชมณ จิรประภาพร*, พยงค์ วณิเกียรติ
              วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
              *ผู้รับผิดชอบบทความ:  patchamon.jrp@gmail.com




                                                   บทคัดย่อ

                      การหายใจนำาฝุ่นละเอียด PM 2.5 เข้าร่างกาย อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อนุภาคเหล่านี้สามารถผ่านจมูก
                 และปาก เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไปยังถุงลมเล็ก ๆ ในปอด และผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะมี
                 ผลกระทบต่อการทำางานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อวัยวะหรือระบบที่ได้รับผลกระทบที่สำาคัญ ได้แก่ ปอด หัวใจ
                 สมอง และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยผ่านกลไกที่สำาคัญคือ ภาวะเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ และความเป็น
                 พิษต่อยีน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อประเมินผลของยาธรณีสัณฑะฆาตต่อระดับทูเมอร์เนคโครซิส
                 แฟคเตอร์ อัลฟา (tumor necrosis factor-alpha, TNF-α) และอินเตอร์ลูคิน-6 (interleukin-6, IL-6) ในเลือดของผู้เข้า
                 ร่วมวิจัยเพศชาย ที่ทำางานสัมผัสกับฝุ่นละเอียด PM 2.5 เป็นเวลา 8-10 ชั่วโมง/วัน และอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้น ซึ่งมี
                 ความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ จำานวน 15 คน อายุระหว่าง 21-55 ปี ก่อนเริ่มการทดลองผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้

                 รับการตรวจวัดระดับทูเมอร์เนคโครซิส แฟคเตอร์ อัลฟา และ อินเตอร์ลูคิน-6 ในเลือด ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีระดับ TNF-α
                 และ IL-6 ในเลือดสูงเกินระดับปกติและอยู่ในเกณฑ์คัดเข้าจะได้รับยาธรณีสัณฑะฆาต รับประทานจำานวน 4 แคปซูล/
                 วัน ปริมาณแคปซูลละ 240 มิลลิกรัม รับประทานก่อนนอน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างนี้ มีการบันทึกอาการ
                 ข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ตรวจวัดระดับ TNF-α และ IL-6 ในเลือด อีกครั้ง ผลการ
                 ศึกษาพบว่า การใช้ยาธรณีสัณฑะฆาตในผู้เข้าร่วมวิจัยมีผลลดระดับ TNF-α (20.71 ± 8.52 พิโกกรัม/มิลลิลิตร) และ
                 IL-6 (4.36 ± 1.43 พิโกกรัม/มิลลิลิตร) ในเลือดอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับของ TNF-α (58.88 ±
                 16.16 พิโกกรัม/มิลลิลิตร) และ IL-6 (5.07 ± 1.49 พิโกกรัม/มิลลิลิตร) ในเลือด ก่อนการรับประทานยาธรณีสัณฑะฆาต
                 โดยที่ไม่มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงเกิดขึ้น  โดยสรุปการใช้ยาธรณีสัณฑะฆาตพบว่ามีความสัมพันธ์กับการลด
                 ระดับของ TNF-α และ IL-6 ในเลือดของผู้เข้าร่วมวิจัยที่ทำางานสัมผัสกับฝุ่นละเอียด PM2.5 และอาศัยอยู่ในพื้นที่
                 นั้น อย่างไรก็ตามการที่ผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับ TNF-α และ IL-6 ในเลือดสูงเมื่อเริ่มการศึกษาในครั้งนี้ อาจมีสาเหตุจาก
                 ปัจจัยอื่นร่วมด้วย นอกเหนือจาก PM 2.5 จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น  ทั้งนี้เพื่อสนับสนุน
                 การนำาตำารับยาธรณีสัณฑะฆาตมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคหรือภาวะผิดปกติ ที่มีสาเหตุจากการได้รับสัมผัส
                 ฝุ่นละเอียด PM 2.5 ซึ่งนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรค
                      คำ�สำ�คัญ:  ธรณีสัณฑะฆาต, ทูเมอร์เนคโครซิส แฟคเตอร์ อัลฟา, อินเตอร์ลูคิน-6, PM 2.5



              Received date 15/09/21; Revised date 14/03/22; Accepted date 31/03/22

                                                      167
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192