Page 136 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
P. 136
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564
Vol. 19 No. 1 January-April 2021
118 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564
นิพนธ์ต้นฉบับ
การวิเคราะห์สถานการณ์ของผลิตภัณฑ์ครีมบำารุงข้อศอกในปัจจุบันและการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำารุงข้อศอกจากการผสมสารสกัดสมุนไพรอบเชยเทศ
สำาหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตในวิทยาลัยเทคโนโลยี
ทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
สถาพร สัตย์ซื่อ , วิไลลักษณ์ สุกใส , ณัฐพงศ์ สุภะกรรม , ทัศญาณี ใจทะวงค์ , เบญจพร ครุฑเครือ ,
†
*,‡
†
†
*
สุจิตรา น้อยใย
†
ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี 11150
*
† วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี 11150
ผู้รับผิดชอบบทความ: satha.arm@gmail.com
‡
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของผลิตภัณฑ์ครีมบำารุงข้อศอกในปัจจุบันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ครีมบำารุงข้อศอกจากสารสกัดอบเชยเทศ สำาหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิตในวิทยาลัยเทคโนโลยี
ทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยทำาการสกัดสาร
้
จากเครื่องยาอบเชยเทศและอบเชยไทย ด้วยตัวทำาละลายเอทานอล 95% และนำา นำาไปวิเคราะห์หาฤทธิ์การต้านอนุมูล
อิสระ ด้วยวิธีไนตริกออกไซด์ จากนั้นนำาสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำารุง
ข้อศอก ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดเครื่องยาอบเชยเทศที่สกัดด้วยตัวทำาละลายเอทานอล 95% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ดีที่สุด ค่า IC เท่ากับ 20.60 ± 7.99 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
50
ครีมบำารุงข้อศอกและพัฒนาสูตรครีมที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ และทดสอบความคงตัวทางกายภาพ เพื่อเลือกสูตร
ครีมที่ดีที่สุด และจากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปแบบครีมชนิดหลอด ฉลากมีความน่าเชื่อถือ
ตัวครีมมีคุณภาพ ไม่เหนียวเหนอะ เพิ่มความชุ่มชื่น กลิ่นหอมอ่อน ๆ ซึมสู่ผิวหนังง่าย แห้งง่าย ที่สำาคัญช่วยลดความ
ดำาและด้านของข้อศอกได้เป็นที่ต้องการของกลุ่มตัวอย่าง และในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น พบว่า ลักษณะ
้
เนื้อครีมเนียนละเอียด สีของเนื้อครีมเป็นสีนำาตาลอ่อนและมีกลิ่นอ่อน ๆ ของอบเชยเทศ ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน มีการ
ไหลของครีมได้ดี ไม่มีการเจริญของจุลินทรีย์หรือเชื้อรา ไม่มีการเกิด creaming และ cracking ค่า pH เท่ากับ 5-6 เมื่อ
นำาไปให้กลุ่มตัวอย่างจำานวน 38 คน ทดลองใช้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในคุณภาพของครีม โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก (x = 4.34) พกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ด้านคุณสมบัติทางเคมี ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อ
ผิวหนัง เนื้อครีมไม่หนืด ซึมเข้าสู่ผิวง่าย ปกป้องผิวจากความแห้งกร้าน ช่วยรักษาความชุ่มชื้น จากการศึกษาครั้งนี้
สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเวชสำาอางประเภทอื่น ๆ ได้อีกต่อไป
คำ�สำ�คัญ: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีไนตริกออกไซด์, พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมทาข้อศอก, เครื่องยาอบเชย
Received date 30/09/20; Revised date 03/12/20; Accepted date 24/02/20
118