Page 184 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 184
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563 Vol. 18 No. 3 September-December 2020
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษานำาร่องผลของตำารับยาพอกลมปะกังต่อความเครียด:
ประเมินจากความผันแปรของอัตราเต้นของหัวใจ
ปิยะพร ทรจักร์ , พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์, วราพร โพธิ์ชัยศรี, ศิริประภา มูลถา, โศจิรัตน์ ใสศรี
*
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
ผู้รับผิดชอบบทความ: piyaporn.t@ubru.ac.th
*
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลเบื้องต้นของตำารับยาพอกลมปะกังต่อการทำางานของระบบประสาท
อัตโนมัติและสภาวะเครียดโดยการตรวจวัดความผันแปรของอัตราเต้นของหัวใจ ในผู้ที่มีความเครียดอยู่ในระดับ
ปานกลาง จำานวน 16 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการพอกยาลมปะกังบริเวณขมับเป็นเวลา 20 นาที ร่วมกับการได้รับการ
กระตุ้นความเครียดด้วยวิธี Mental Arithmetic Task เป็นเวลา 5 นาที และวัดความผันแปรของอัตราเต้นของหัวใจ
้
ทำาซำาติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน การศึกษาในครั้งนี้พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังจากผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับ
ยาพอกลมปะกัง ในวันที่ 2 และวันที่ 3 มีค่าอัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.001 และ
p < 0.01 ตามลำาดับ) ค่าความถี่คลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วงความถี่สูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติในทั้ง 3 วัน (p < 0.05,
p < 0.05 และ p < 0.001 ตามลำาดับ) และค่าสัดส่วนความถี่คลื่นไฟฟ้าหัวใจระหว่างช่วงความถี่ต่ำา/ช่วงความถี่สูง
ลดลงอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติในทั้ง 3 วัน (p < 0.01, p < 0.05 และ p < 0.05 ตามลำาดับ) การศึกษานำาร่องครั้งนี้สรุป
ได้ว่า ผลเบื้องต้นของตำารับยาพอกลมปะกังมีผลในการเปลี่ยนแปลงค่าความผันแปรของอัตราเต้นของหัวใจในผู้ที่มี
สภาวะความเครียด โดยกระตุ้นการทำางานของของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกซึ่งเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ
ที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลายและการลดอัตราการเต้นของหัวใจ
คำ�สำ�คัญ: ลมปะกัง, ความเครียด, ความผันแปรของอัตราเต้นของหัวใจ
Received date 05/12/19; Revised date 08/11/20; Accepted date 25/12/20
616