คำถามที่พบบ่อย - การแพทย์แผนไทย
ห้ามนวดในกรณีต่อไปนี้
•ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือโรคติดเชื้อเฉียบพลัน
•บริเวณที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อ
•บริเวณที่กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ข้อเคลื่อน
•โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้
•โรคผิวหนังมีแผลเปิดเรื้อรัง
•โรคติดต่อระยะแพร่เชื้อ
•โรคมะเร็ง
•บริเวณแผลหลังผ่าตัด ที่ยังไม่หายสนิท
•มีภาวะกระดูกพรุนรุนแรง
* ทั้งนี้ในการตรวจประเมินก่อนการนวดให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์แผนไทยผู้ทำการรักษา
ควรระวังในการนวดในกรณีต่อไปนี้
•เด็ก หญิงมีครรภ์ หรือผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่ต้องระวังในการบาดเจ็บจากแรงกดนวดซึ่งเกิดได้ง่าย
•เป็นโรคของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่งพอง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)
•เป็นโรคเบาหวาน ที่คุมระดับน้ำตาลได้
•มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
•มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด หรืออยู่ระหว่างการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
•บริเวณที่เคยได้รับการผ่าตัด ใส่เหล็ก หรือข้อเทียม
•บริเวณบาดแผลที่ยังไม่หายสนิทดี
•บริเวณที่ปลูกถ่ายผิวหนัง
•บริเวณที่ทำศัลยกรรมตกแต่ง
* ทั้งนี้ในการตรวจประเมินก่อนการนวดให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์แผนไทยผู้ทำการรักษา
•ขณะมีประจำเดือนไม่ควรนวดเพราะจะเกิดการอักเสบหรือมีเกิดภาวะไข้ขึ้นหลังการนวดได้ง่าย
•ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ขณะมีประจำเดือนควรประคบร้อน หรือเพียงแค่ นวดคลายบริเวณที่ปวดเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นสามารถนวดได้แต่ก่อนนวดนั้นควรจะที่วัดความดันโลหิตก่อนหากมีความดันโลหิตเกิน 140/90 mm.Hg ไม่ควรนวดแต่ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แผนไทย
•หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรนวดในช่วงสามเดือนแรกและสามเดือนหลังก่อนคลอด ถ้ามีอาการปวดควรทำการประคบช่วยคลายกล้ามเนื้อ
•ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน สามารถนวดได้ตามตำแหน่งกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด โดยอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์แผนไทย
การนวดนั้นไม่ควรนวดทุกวันเพราะกล้ามเนื้อจะเกิดการระบมได้ และประโยชน์ที่ได้จากการนวดจะน้อย เว้นแต่เป็นโรคที่แพทย์แผนไทยระบุว่าควรทำการนวดติดต่อทุกวัน เช่น อาการคอตกหมอน อาการยอกหลัง
•ช่วยกระตุ้นการทำงานระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย บำรุงผิวพรรณ
•บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ภูมิแพ้ คลายกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับสบาย
การตรวจสุขภาพตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในสถานบริการภาครัฐเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานที่ประชาชนสามารถรับบริการได้ โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาจะพิจารณาให้บริการทางการแพทย์แผนไทยแก่คนไข้ในแต่ละราย ได้แก่ นวดเพื่อรักษาประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ(การบริบาลมารดาหลังคลอด) ยาสมุนไพรและให้คำปรึกษาด้านการแพทย์แผนไทย เป็นต้น
เลขที่ 693 ถ.บำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100 (จุดสังเกต ใกล้กับโรงพยาบาลหัวเฉียว ร้านยา GPO ประตูทางเข้ามูลนิธิ พอสว.)
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 0 2224 3261 ถึง 2 กด 0 ประชาสัมพันธ์
รถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) ได้แก่ สาย 8 และสาย 53
การเดินทางมาจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใช้รถโดยสารประจำทาง(รถเมล์) สาย 8 ลงป้ายสะพานขาว
การเดินทางมาจากเทเวศน์ ใช้รถโดยสารประจำทาง(รถเมล์)
สาย 53 ลงป้ายสี่แยกกษัตริย์ศึก
ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งในระบบผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ทุกวัน(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
โดยติดต่อขอทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่งานเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก
และควรนำผลการตรวจวินิจฉัยอื่นมาพร้อมด้วย
อัตราค่ารักษาพยาบาลสามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิของผู้ป่วย
ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ทุกวัน(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)โดยติดต่อขอทำบัตรประจำตัวผู้ป่วย
ที่งานเวชระเบียนแผนกผู้ป่วยนอก โดยแพทย์แผนไทยจะดำเนินการตรวจวินิจฉัยรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตามขั้นตอน
สามารถโทรศัพท์นัดหมายล่วงหน้า
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 0 2224 3261 ถึง 2 กด 0 ประชาสัมพันธ์
เปิดให้บริการทุกวัน ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามประกาศของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยฯ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30น.
ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคทั่วไปด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน อาทิ การนวดรักษา การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร การจ่ายยาสมุนไพร การตอกเส้น ฝังเข็มรักษาโรค
อัตราค่ารักษาพยาบาลสามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิของผู้ป่วย
สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.บัตรประชาชนตัวจริง เจ้าของสิทธิที่ต้องการทำจ่ายตรง
(ถ้าเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านแทน)
2.บัตรโรงพยาบาลตัวจริงหรือเลขประจำตัวผู้ป่วยโรงพยาบาล
(กรณี เป็นผู้ป่วยเก่า รพ.ที่ยังไม่สแกนสิทธิ)
3.ตัวผู้ป่วยที่ต้องการเบิกจ่ายตรง
(ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ให้บิดา มารดา สแกนลายนิ้วมือแทน)
4.กรณีใช้สิทธิคู่สมรส บิดา-มารดา บุตร ให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน
ของเจ้าของสิทธิมาด้วย
สถานที่สมัคร
งานเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก
เวลารับสมัคร
ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 15.30 น.
ขั้นตอนการสมัคร
1.ยื่นบัตรประชาชน และบัตรโรงพยาบาลกับเจ้าหน้าที่เพื่อรับคิวสมัครเบิกตรง
2.กรอกข้อมูลในใบสมัคร รอเรียกคิวเพื่อสแกนลายนิ้วมือ
3.สแกนนิ้วมือ
การใช้สิทธิ
หลังจากสแกนนิ้วมือแล้ว 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถใช้สิทธิจ่ายตรงได้
สิทธิจะ Online ในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการลงทะเบียนกับโรงพยาบาล
สามารถใช้สิทธิได้ทันที