คำถามที่พบบ่อย - การแพทย์ไทย-จีน
ประเด็นเกี่ยวกับสมุนไพรจีน
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน โทร. 02 149 5676 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ประเด็นเรื่อง มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนจีน
สำนัก/กอง สถาบันการแพทย์ไทย-จีน โทร. 02 149 5676
ประเด็นเรื่อง การให้บริการฝังเข็ม
สำนักงานการแพทย์ไทย-จีน โทร. 02 149 5676
ป้องกัน
-ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และลดความดันโลหิตโดยไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
-เสริมภูมิต้านทานและต้านเนื้องอกและมะเร็ง
-เสริมสร้างสมรรถนะของตับให้ทำงานได้ปกติหรือดีขึ้น
-ลดระดับไขมันในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล
-ชะลอความชรา
การรักษาด้วยยาสมุนไพรจีนมีหลายรูปแบบ
-ยาต้ม ใบสั่งยาหรือตั๋วยาต้องได้รับจากแพทย์จีนเท่านั้น โดยต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์จีนก่อน
-ยาลูกกลอน ยาแคปซูล ยาชงพร้อมดื่ม ยาผง และยาเม็ด ต้องผ่านการรับรองและการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งสามารถดูข้อมูลยาที่ผ่านการขึ้นทะเบียนได้ที่ www.fda.moph.go.th
ในกรณีที่ต้องทานยาแผนปัจจุบันด้วยควรดื่มยาจีนเว้นห่างจากยาแผนปัจจุบัน 1 ชั่วโมง
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านการแพทย์แผนจีนที่ได้รับการรับรองแล้วจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนมีทั้งสิ้น 8 แห่ง ดังนี้
1.คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
2.วิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
3.คณะการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยนครราชสีมา
4.สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5.คณะแพทย์ตะวันออก วิทยาลัยเชียงราย
6.วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต
7.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
8.วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทุกแห่งเปิดสอนหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต 5-6 ปี ทั้งนี้รายละเอียดของหลักสูตรจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย
เรียนจบแล้วสามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนอันฮุย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการแพทย์แผนจีนในต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน
- อัมพฤกษ์ อัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง
- ปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ,โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
- เจ็บ ปวด ตึง กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณต่างๆ เช่น บ่า ไหล่ สะบัก ท้ายทอย ต้นคอ หลัง เอว สะโพก แขน ขา ข้อเข่า น่อง ข้อเท้า ส้นเท้าเป็นต้น
- ชา หรือปวดจากเส้นประสาทเสื่อหรือถูกกดทับ
- ปวดศีรษะ ไมแกรน นอนไม่หลับ เครียด ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
- ท้องผูก ปวดท้องกระเพาะ ท้องอืด
- โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิแพ้ชนิดต่างๆ
- อ่อนเพลียง่าย หรือรู้สึกแขนขาหนัก
- โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
- รู้สึกเหมือนมีสิ่งติดอยู่ที่ลำคอตลอดเวลา
- วัยทอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
- ปวดประจำเดือน,ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช้า,เร็ว,มาไม่แน่นอน
- ลดความอ้วน กระชับกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่นต้นแขน ต้นขา
- รักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ เส้นเลือดขอด
- ปรับสมดุล ,บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน ฟื้นฟู ร่างกายหลังเจ็บป่วยหรือผ่าตัด
• จ้ำเลือดบริเวณที่ฝังเข็ม ให้แก้ไขโดยการประคบเย็นเป็นเวลา 24 ชม. หลังจากนั้นจึงประคบอุ่น
• อาการตึงบริเวณที่ฝังเข็ม ให้พัก 1-2 ชม. อาการตึงจะดีขึ้น หรือถ้าตึงมากอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ
• ในบางรายอาจเกิดภาวะเมาเข็ม ผู้ป่วยจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมให้นอนหงาย และดื่มน้ำหวานอุ่นๆอาการจะค่อยๆดีขึ้น
ควรรับการรักษาสัปดาห์ละ
1-2 ครั้ง และต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การ
พิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลาใน
การรักษานานขึ้น
ก่อนฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในขณะอ่อนเพลีย หรือท้องว่าง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย
2. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงที่สามารถรูดขึ้นเหนือเข่าได้สะดวก
ขณะฝังเข็ม
1. การอยู่ในลักษณะผ่อนคลายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบลมปราณและปรับสมดุลร่างกาย
2. ถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ เช่น หน้ามืด เป็นลม ต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที
หลังการฝังเข็ม
1. หลังการฝังเข็มไม่ควรอาบน้ำโดยทันทีควรทิ้งระยะห่างจากการฝังเข็มประมาณ 3 ชั่วโมง
2. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะทันทีหลังการฝังเข็ม เพราะอาจเกิดการง่วงนอน
ได้ เฉพาะสิทธิเบิกตรงกรมบัญชีกลาง
สามารถเบิกค่าฝังเข็มได้ ๑๕๐ บาท
ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เบิกค่าฝังเข็มและเครื่องกระตุ้นได้ ๒๐๐ บาท
- สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด จะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานานๆได้
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย
- โรคมะเร็ง(ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
- โรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ(Pacemaker) ห้ามรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า
- ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้งที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้
- ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
- ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิต โรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้