Page 177 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 177
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562 Vol. 17 No. 3 September-December 2019
บทปริทัศน์
กลไกการระงับความรู้สึกเจ็บปวดตามหลักวิทยาศาสตร์ของการฝังเข็ม
นันท์นภัส จิวลวัฒน์ , สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร †
*,‡
* คณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร 10900
† ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: nunnapas.jiwlawat@gmail.com
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน การฝังเข็มตามหลักการแพทย์แผนจีนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ
ปวดชนิดเรื้อรัง เนื่องจากการใช้ยาแผนปัจจุบันระงับอาการปวดระยะยาวมีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์บางประการ หรือ
ผลการระงับปวดไม่เป็นที่พึงพอใจในผู้ป่วยบางราย ผู้ป่วยจึงรับการฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ร่วมกับการรักษา
ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ในระยะสิบปีที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการค้นหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มา
อธิบายกลไกการระงับความรู้สึกเจ็บปวดจากการฝังเข็มที่ตีพิมพ์จำานวนมากกว่า 1,000 ฉบับ ซึ่งพบหลักฐานสนับสนุน
ว่า การฝังเข็มสามารถระงับความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยออกฤทธิ์ระงับปวดได้ในทุกขั้นตอนของกลไกการรับความรู้สึก
เจ็บปวด ทั้งในระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย ทั้งนี้ ผลของการระงับปวดขึ้นอยู่กับชนิดของความรู้สึกเจ็บ
ปวด ชนิดและตำาแหน่งของการฝังเข็ม คลื่นความถี่ของการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าและประสบการณ์ของผู้ทำาการฝังเข็ม
กลไกการระงับความรู้สึกเจ็บปวดของการฝังเข็ม ส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทกลุ่ม opioid ที่มี
ฤทธิ์ระงับความรู้สึกเจ็บปวดทั้งในระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย ออกมาจากภายในร่างกายของผู้ป่วยเอง
การฝังเข็มกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทกลุ่ม serotonin และ norepinephrine ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบยับยั้งความ
รู้สึกเจ็บปวดที่ส่งสัญญาณกลับมาจากสมอง ลดการหลั่งสารสื่ออักเสบชนิดต่าง ๆ ที่ทำาให้เกิดความเจ็บปวดที่บริเวณ
ระบบประสาทส่วนปลาย การเพิ่มระดับความต้านทานต่อความรู้สึกเจ็บปวดที่ระบบประสาทส่วนปลายรับความรู้สึก
ได้ การศึกษานี้ ได้รวบรวมผลงานวิจัยที่สำาคัญเพื่อสรุปเป็นกลไกการระงับความรู้สึกเจ็บปวดทางวิทยาศาสตร์ของการ
ฝังเข็ม อย่างไรก็ดี ความยากในการกำาหนดตำาแหน่ง วิธีที่แน่นอนเฉพาะเจาะจงต่อโรคนั้น ๆ และการแปลผลการรักษา
เป็นอุปสรรคสำาคัญต่อการพิสูจน์ว่า การฝังเข็มให้ผลการรักษาโรคนั้นได้จริงหรือไม่ เพราะลักษณะความเจ็บปวดที่
แสดงออกแตกต่างกันในแต่ละโรค และในแต่ละบุคคล จึงต้องรอการรวบรวมหลักฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อ
พิสูจน์ต่อไป
คำ�สำ�คัญ: กลไกการระงับความรู้สึกเจ็บปวด, การระงับปวด, วิทยาศาสตร์, การฝังเข็ม
Received date 26/12/18; Revised date 24/05/19; Accepted date 24/09/19
527